|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
8
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
691
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
10,054,514
|
เปิดเว็บ
|
26/03/2557
|
ปรับปรุงเว็บ
|
05/10/2567
|
สินค้าทั้งหมด
|
443
|
|
|
6 ตุลาคม 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
| |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
# พระงั่งของแท้ๆ ดูกันอย่างไร..??
[26 กันยายน 2557 02:33 น.]จำนวนผู้เข้าชม 199090 คน |
|
พระงั่งโบราณของแท้ๆมาตรฐานดูตรงไหน ..."ที่นี่มีคำตอบ"
พระงั่งหรือพระชัยนะจังงังนั้นเป็นของเก่าแก่โบราณอายุหลายร้อยปี เป็นปู่ทวดของเครื่องรางเกือบทั้งหมดที่เรารู้จักกันในสมัยนี้เลยก็ว่าได้ เพราะสายวิชา มหาเสน่ห์ เมตตามหานิยมคงกระพันชาตรี โชคลาภ บารมี ทั้งหลายต่างๆก็ล่วนแตกมาจากคัมภีร์ อาถรรพ์เวทย์โบราณทั้งนั้น โดยมี พระงั่งหรือพระชัยนะจังงัง เป็นเครื่องรางต้นสายของวิชาอาถรรพ์เวทย์โบราณเพราะความเก่าโบราณนี้เองจริงทำให้พระงั่งไม่สามารถยึดหลักมาตรฐานเหมือนกับพระเครื่องทั่วไปได้จรึงใช้มาตรฐานของสัมฤทธิ์เก่าและข้อมูลทางประวัติศาสตร์ต่างๆที่มี
ทองแดง ดีบุก ทองเหลือง สังกะสี ตะกั่ว และอื่นๆใช้หล่อรวมกันจึงเรียกว่าสัมฤทธิ์ตามคำภีว่าพระงั่งในสมัยนั้น จะมีพวกธาตุกายสิทธิ์ผสมอยู่ด้วย เช่น ทองคำ ปรอท เหล็กไหลหากแต่ ธาตุพวกนี้จะรวมตัวกับแร่ชนิดอื่นนั้นยากมากครับ คนสร้างในสมัยนั้นต้องเป็นผู้ที่มีอิทธิฤทธิ์แก่กล้าไม่ธรรมดาจรึงสร้างขึ้นรูป ออกมาได้
"สัมฤทธิ์ตามหลักสากลแทบทุกชนิดเนื้อก็เป็น สีทองสุก/ สีส้มอมทองแดง/ ทองอมเงิน/ ทองอมเขียวครับ"
แต่จะเป็นสนิมจะสีอะไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับผสมแร่อะไรมากน้อย ต่อไปนี้เราจะพูดถึงสนิมสัมฤทธิ์ขั้นพื่นฐานกันโปรดทำความเข้าใจนะครับเพราะในส่วนนี้เป็นรายอะเอียดจริงของคนที่ตั้งใจจะเล่นพระงั่งของจริงๆเท่านั้นคนที่รักในพระงั่งและคิดจะดูพระงั่งให้เป็นโดยไม่ต้องไปเชื่อนิยายจากใคร บทความนี้ใช้ความรู้ตามหลักสากลส่วนกลางในบางส่วนอ้างอิงจากเอกสารกรมศิลป และข้อมูลทั้งหมดนี้จะเป็นในส่วนของพระงั่งอย่างเดียวเท่านั้นครับ
1.1 ทองเหลือง (ทองเหลือง คือโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี ) จรึงกลายมาเป็นทองเหลือง จะขึ้นสนิมสีเขียว ถ้าสัมฤทธิ์แก่ทองเหลืองเนื้อสีทองก็จะขึ้นสนิมเขียวเหมือนกันครับ
1.2 สัมฤทธิ์เงิน หรือสัมฤทธิ์ที่มีแร่เงินผสมมาก ก็ขึ้นสนิมสีน้ำตาลไม้แก่ขึ้นจนกลายเป็นดำ
1.3 สัมฤทธิ์มีทองคำมากก็สนิมสีน้ำหมากหรือสนิมแดง
1.4 สัมฤทธิ์แก่ทองแดงหรือสัมฤทธิ์ที่มีแร่ทองแดงผสมอยู่มาก สนิมก็จะขึ้นเป็นสีเม็ดมะขาม และ สนิมเขียว
1.5 สัมฤทธิ์แตงไทเนื้อทองอมเขียวจะขึ้นสนิมแดง และ สนิมเขียวหรือเขียวตะไคร่น้ำสลับกัน(วงเล็บว่าสีเขียวตะไคร่น้ำนะครับคือเขียวสดๆเท่านั้น)
1.6 สัมฤทธิ์ทองดอกบวบหรือเนื้อแตงไท เนื้อในแต่ละองค์นั้นอาจจะมีความสวยสดไม่เท่ากันแล้วแต่วัตถุธาตุที่นำมาหล่อผสมเป็นองค์ๆไป
ถ้าเนื้อในสีเหลืองเดิมๆสุกๆคนโบราณจะเรียกเนื้อดอกบวบถ้าเนื้อขึ้นสนิมเขียวตะไคร่กับแดงพร้อมกันและเนื้อในเป็นสีทองคนโบราณเรียกเนื้อแตงไท ถ้าเนื้อมีแร่เงินด้วยสนิมแดงอาจเป็นสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลไหม้เข้าใจตรงกันนะครับ
(ทองดอกบวบจริงๆนั้นหายากนะครับแต่เท่าที่เห็นเนื้อทองเหลืองธรรมดาๆหรือแช่สารเคมี ปัจจุบันคนดูสัมฤทธิ์ไม่เป็นไม่รู้เนื้ออะไรจริงไม่จริงก็ตีเป็นทองดอกบวบมั่วกันไปหมดแล้วครับ ความจริงเนื้อดอกบวบหรือเนื้อแตงไทมันไม่ได้หากันง่ายขนาดนั้นครับ และที่สำคัญสนิมจะต้องขึ้นเป็นเม็ดละเอียด สนิมของจริง ต้องไม่มีริ้วพู่กัน หรือเป็นลายขนแมวหรือเนื้อสนิมเรียบจนเกินไป
การตรวจสอบพระเนื้อสัมฤทธิ์เก่าหรือใหม่
การที่จะเป็นนักสะสม พระงั่ง หรือ พระสัมฤทธิ์โบราณในสมัยนี้นั้น ต้องลงทุนมาก ต้องศึกษาหาความรู้ว่าพระเก่าหรือพระใหม่เป็นเช่นไร เสี่ยงต่อการถูกต้มตุ๋นหลอกลวงเป็นอย่างมาก นักเลงนักสะสมพระสัมฤทธิ์พระงั่งแท้มือใหม่เป็นจำนวนมากที่ยังไม่เข้าใจ ในวิธีตรวจสอบดูพระพระสัมฤทธิ์พระงั่งแท้ที่เป็นของเก่าว่าของเก่าแท้แน่นอนนั้นเป็นประการใด
ทั้งนี้เพราะนักเล่นพระมือใหม่ยังไม่ค่อยสนใจศึกษาหาความรู้ หรือขอดูพระเก่าของแท้จากผู้รู้ให้กะจ่างแจ้งเสียก่อน ส่วนมากมือพระใหม่พอเข้าสู่วงการพระมีผู้รู้บ้างไม้รู้บ้างชักจูงแนะนำไปในทางที่ผิด เข้ารกเข้าป่าไปก็มี เช่นให้เล่นพระตามใจชอบ ไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอนไม่มีพี่เลี้ยงหรือเทรนเนอร์ที่ดีมรความรู้ ขอให้ชอบเป็นเช่า หาได้ทราบไม่ว่าของที่เช่านั้น เป็นพระใหม่หรือพระเก่า ในวงการพระเขานิยมหรือไม่ เชื่อแต่ลิ้นลมลวงเอาหูฟังประวัติอันเลื่อนลอยอ่อนหวานของผู้ขาย สรุปแล้วเอาหูเล่นพระเป็นใหญ่อย่างนี้ ผู้เล่นพระร้อยทั้งร้อยเล่นพระแต่หนุ่มจนแก่ก็ไม่ได้ดีเพราะหลงผิด เสียเงินเสียทองเปล่า บางรายอาจถูกต้มจนหมดตัวก็มี ขอให้ท่านจงระวังจงเป็นผู้มีเหตุผลเล่นพระตามสากลนิยมพระอย่างใด ครูบาอาจารย์ผู้เล่นมาก่อนว่าเป็นพระชั้นดีเช่นพระสัมฤทธิ์สมัยสูง เช่นทวารวดี ศรีวิชัย ขอม ลพบุรี เชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง อยุธยา อย่างนี้ถ้าเป็นพระแก่แท้ก็เป็นของหายาก ก็จะเกิดโชคดีมีศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว พระงั่งเก่าแท้ให้ความศักดิ์สิทธิ์แก่ผู้กราบไหว้เคารพบูชาอย่างแท้จริง
พระเก่าไม่ว่าจะเป็นพระเครื่องพระบูชาสร้างด้วยเนื้อหินศิลา สัมฤทธิ์ ชิน ตะกั่ว ดิน ผง ว่านฯ ต้องมีความเก่า คือมีคราบ มีสนิม มีรอยสึกกร่อน แอ่ง รูพรุนปรายเข็ม ริ้วระแหงแตกร้าวเหี่ยวย่น ผิวเข้ม เนื้อแห้งสนิทพื้นผิวของ เนื้อพระไม่ตึงเรียบ เนื้อไม่มันวาว ไม่กะด้าง ถ้าใช้มานานถูกเสียดสีเนื้อพระจะเข้มขึ้นแลมันใส ลูบดูทั่วองค์พระจะไม่มีขอบคมเลย ดมดูจะไม่มีกลิ่น เอาลิ้นแตะดูจะไม่ดูดลิ้นอย่างนี้เป็นต้น
ให้ดูความมีชีวิตชีวาขององค์พระเพราะพระงั่งนั้นเป็นของมีชีวิตครับ ความรู้สึกแห้งๆด้านๆจะไม่ใช่ครับในส่วนหลักการพิจารณาตรวจสอบพระงั่งเนื้อสัมฤทธิ์เก่าหรือใหม่ เป็นของแท้ของเทียมหรือของปลอมดังจะได้เรียนต่อไปนี้ ขอท่านผู้อ่านโปรดพิจารณาทุกตัวอักษร และตีความหมายไปด้วย แล้วท่านจะเข้าใจในการดูพระแท้พระปลอม การที่จะตรวจสอบว่าเป็นพระเก่าพระใหม่โดยการเขียนเป็นตัวอักษรให้เข้าใจได้แน่ชัดนั้นยากนัก และแต่ละหัวข้อให้ถามตนเองว่าพระที่สร้างแบบนี้ทำปลอมได้ไหม
๑. พระเก่าเราดูรูปแบบว่าศิลปะสมัยใด เป็นสมัยลพบุรี ขอม เชียงแสน อู่ทอง สุโขทัย อยุธยา ถูกต้องหรือไม่เป็นฝีมือช่างราษฎร์ (สร้างไม่สวยงาม) หรือฝีมือช่างหลวง (สวยงาม)
๒. พระเก่าต้องมีคราบมีสนิม มีรอยสึกกร่อน แอ่งรูพรุนปรายเข็ม รอยชำรุดแตกร้าวเนื้อแห้งสนิทผิวเข้ม เป็นไปตามธรรมชาติอย่างที่ว่าสนิมอยู่ในเนื้อ
๓. พระเก่าแท้เห็นแล้วได้ไว้เป็นเจ้าของมีความซึ้งตา ซึ้งใจ เนื้อผิวของพระเนียนสนิท
๔. พระงั่งเก่าเป็นพระใช้งานเอามือจับลูบดูทั่วองค์พระทุกแห่งจะเนียน จะไม่มีขอบคมติดมือเลย ไม่เหมือนของปลอมจะมีทั้งขี้ดินขี้ฝุ่นผิวดูหยาบกระด้าง
กระดำกระด้า่จากสารเคมี และดูไม่เป็นธรรมชาติ
๕. ถ้าตรงไหนมีเนื้อในของพระสึกกร่อนจนเห็นเนื้อโลหะ เนื้อโลหะสัมฤทธิ์ตรงนั้นจะมองเห็นสีแดงปนเหลือง หรือค่อนข้างแดง หมองหม่น คล้ำ สีซีด ไม่มันวาว ไม่เป็นเหลืองเหมือนทองเหลืองล้วนๆ
๖. พระเก่าผิวเนื้อจะมันใส แห้งสนิท ของทำเทียมเลียนแบบผิวเนื้อพระจะมันวาวเช่นดำมันวาวหรือแดงน้ำตาลไหม้มันวาว พระของใหม่เนื้อจะกะด้าง ไม่งามติดตา หรือให้ช่างรมดำเอา
๗. พระงั่งเก่าถ้าเคาะดูที่ฐานนั่งจะมีเสียงดังแปะๆ ถ้าเป็นพระใหม่จะมีเสียงดังหนักแน่นกังวาล ก็เพราะเนื้อพระยังใหม่กินตัวกับอากาศไม่นานพอ
๘. พระงั่งเก่าเนื้อแห้งสนิท ผิวเนื้อของพระไม่เรียบตึง เนื้อพระเก่าจะมีรอยย่นเหี่ยวแอ่งรู พรุน สึกกร่อนสวนมากมีรอยชำรุดแตกร้าวใช้แว่นขยายกำลังสูงส่องจะมองเห็นชัดเจน
๙. พระงั่งเก่ามีรูสนิมขุม หรือขุมสนิมจะเกิดจากด้านในมาด้านนอก ปากสนิมขุดจะเล็กด้านในกลวง สนิมที่ทำเทียมใช้น้ำกรดราดกัดเนื้อพระปากสนิมจะกว้างด้านในเล็ก สนิมจะกัดกินเนื้อพระสม่ำเสมอ พระเก่าสนิมขุมจะเป็นแอ่งขรุขระสูงๆ ต่ำๆ ไม่สม่ำเสมอ
๑๐. ดินหุ่นด้านในใต้ฐานของพระ พระเก่าดินหุ่นมักจะมีค่อนข้างหนา แข็ง แห้งสนิทถ้าเอานิ้วมือแตะดูดินหุ่นจะติดมือ เพียงเล็กน้อย หรืออาจจะไม่ติดมือเลย
๑๑. ขอบโลหะพระงั่งด้านล่าง คือตรงฐานที่เราตั้งพระ พระเก่าแท้ขอบพระด้านล่างจะมีผิวสนิมเหมือนกับผิวสนิมขององค์พระไม่มีรอยตะไบคมๆที่พึ่งตะไบมาใหม่ๆ ขอบด้านล่างนี้ผู้ปลอมหรือทำใหม่ทาน้ำยาเคมีไม่ติดแน่นจึงทำให้ผิวขอบพระนั่งด้านล่างนี้แตกต่างจากองค์พระไม่มากก็น้อย
๑๒. เนื้อสัมฤทธิ์ของพระงั่งในสมัยนั้น ในพิมพ์เดียวกัน ระดับสีของเนื้อสัมฤทธิ์ในแต่ละองค์นั้นสีจะไม่เหมือนกันเพราะการเทหล่อทำที่ละองค์ใช้มวลสาร
แตกต่างกัน ต่างเวลา ต่างสถานที่ พิมพ์ก็จะไม่เหมือนกันเป๊ะๆ ทุกองค์ ( ของเลียนแบบ จะใช้หล่อออกมาเหมือนกันไปหมด ระดับสีก็จะดูเหมือนกันไปหมด )
๑๓. ดินใต่ฐานพระงั่งสมัยนั้น จะมีหลายสี สีส้มเยอะสุด สีชมพู สีเทา สีน้ำตาลและสีดำ หายากที่สุด และระดับสีของดินจะไม่มีระดับสีที่เท่ากันเลยแม่แต่องค์เดียว เพราะ อยู่ในอุณหภูมิที่ต่างกันมาหลาย100ปี ของสนาม ถ้าพิมพ์เดียวกันระดับสีของดินใต่ฐาณเหมือนกันหมดเก๊ครับ
๑๔. พระเก่าผิวเนื้อ ผิวสนิมจะมองดูเห็นมีสีอ่อนแก่ได้ชัดเจน ไม่ใช่ผิวสนิมเนื้อของพระมองดูเป็นสีเดียวโล้นๆ ซึ่งเป็นผิวสนิมของพระใหม่
๑๕. พระเก่าดมดูจะไม่มีกลิ่นฉุน เมื่อดมดูจะรู้สึกเฉยๆ หรือเมื่อเอาลิ้นแตะเนื้อพระดูจะไม่ดูลิ้น เนื้อพระใหม่เอาลิ้นแตะดูจะดูดลิ้นเพราะในเนื้อพระน้ำยาเคมียังระเหยไปไม่หมด
๑๖. พระที่เอาเนื้อพระเก่าที่แตกหักชำรุดหรือไม่สวยงามมาเทสร้างใหม่ให้เป็นพระสมัยสูงมีราคาแพง
เช่นพระพุทธรูปเชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง ลพบุรี นี้นั้นขอให้สังเกตุให้ดี ผิวสนิมเนื้อของพระที่เทใหม่จะไม่มันใส แต่มีความเก่า เนื้อพระนี้จะมองดูด้านๆ และเนื้อโลหะไม่เข้ากันสนิท คือดำๆ ด่างๆ ผิวหยาบ ไม่เหมือนของเก่า เอามือจับลูบดูอาจมีขอบคมอยู่บ้าง
๑๗. เคล็ดลับหรือตำหนิพระเก่าแท้พระงั่งสมัย สุโขทัย อู่ทอง ลพบุรี ขอม
ที่ผู้รู้กำหนดไว้บอกว่า พระที่มีลักษณะต่อไปนี้เป็นพระเก่าที่คณาจารย์ หรือช่างโบราณสร้างขึ้นได้ลักษณะถูกต้องแท้จริง
ย่อมประกอบไปด้วยสิ่งดังต่อไปนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างคือ
ก. พระงั่งสมัยเก่าสุดๆ ตั้งแต่ 400ปี-ขึ้นไปลักษณะมือถ้านั้นสมาธินิ้วโป้งข้างใดข้างหนึ่งกระดกขึ้นมา ไม่เหมือนพระชัยทั้วๆไปที่เป็นมือถ้าสมาธิธรรมดา
ข. พระงั่งในสมัยเก่าตั้งแต่400ปีลงมาจะมีพระงั่งในถ้าสมาธิแต่ในระหว่างมือทั้งสองข้างจะมีศิวลึงค์ตั้งขึ้นมา ที่พระชัยจะไม่มีวันมีขึ้นมาเหมือนพระงั่ง
ค. พระงั่งตั้งแต่สมัย400ปีลงมาจะเริ้มมีห่วงหลัง แต่ถ้าอายุ400ปีขึ้นไปแล้ว จะเป็นพระงั่งขนาด3นิ้วหลังเรียบไม่มีห่วงหลังครับ
ง. พระงั่งหรือพระหล่อโบราณที่อายุ400ปีขึ้นไป การหล่อจะบางเฉียบทั้งองค์เป็นสูตรของช่างโบราณ พระอายุเกิน400ปีของแท้ให้สังเกตุที่ฐานพระจะบางมากๆ แต่เรื่องการเทหล่อพระพุทธรูปให้บางมากๆสมัยนี้เจริญกว่ามาก แต่กลับทำไม่ได้ เทคนิคนี้หายไปในปลายสมัยอยุธยา ปัจจุบันนี้ การหล่อบางจึงเป็นเคล็ดสำคัญในการดูเก๊แท้เก่าใหม่ของพระโบราณ ( อ้างอิงหนังสือเอกสารของกรมศิลปากร ปี 2518 )
วัสดุที่โบราณาจารย์ นิยมเอามาสร้างเป็น พระงั่งโบราณ ได้แก่โลหะ ทองคำ นาค เงิน ทองเหลือง ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ลงหิน เมื่อผสมกัน แล้วเรียกว่าสัฤทธิ์นี้ เฉพาะแร่ทองคำ เงินและทองแดง เป็นธาตุแท้ นอกนั้นเป็นโลหะผสม เนื้อทองคำเหลืองอร่ามสวยงามมีราคาสูงไม่กลายสภาพเป็นอย่างอื่น เมื่อผสมกับแร่ธาตุอื่นจะทำให้แร่ธาตุอื่น จะทำให้ แร่ธาตุนั้นผิวกลับดำ ถ้าธาตุนั้นเก่าก็จะทำให้มองเห็นความเก่าได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เนื้อทองแดงเมื่อผสมกับแร่ธาตุอื่น จะทำให้แร่ธาตุนั้นเปลี่ยนไป เช่นทองแดงผสมสังกะสีจะกลายเป็นทองเหลืองเนื้อสัมฤทธิ์ตามความหมายของนักเล่นพระ หมายถึงโลหะผสมผิวกลับดำหมองคล้ำย่อมมีผิวเนื้อแตกต่างกัน ทั้งนี้แล้วแต่ส่วนผสม เช่นถ้าส่วนผสมแก่เงินผิวโลหะนั้นจะกลับดำ ถ้าโลหะนั้นมีทองคำผสมด้วยแม้จะไม่มากนักก็ทำให้โลหะนั้น มีความมันในสวยงามขึ้น สนิมทองคำจะขึ้นเป็นสีน้ำหมากออกแดงอมชมพูเหมือนรูปพระงั่งด้านล้าง โลหะที่ผสมเป็นเนื้อสัมฤทธิ์สร้างพระงั่ง นิยมเรียกชื่อต่างกันตามผสม เช่น ปัญจโลหะ, และนวโลหะ
ปัญจโลหะ ได้แก่ส่วนผสมโหละ ๕ อย่างดังต่อไปนี้คือ
๑. ดีบุก หนัก ๑ บาท
๒. ปรอท หนัก ๒ บาท
๓. ทองแดง หนัก ๓ บาท
๔. เงินหนัก ๕ บาท
๕. ทองคำ หนัก ๕ บาท
สัตตะโลหะได้แก่ส่วนผสมโลหะ ๗ อย่างดังต่อไปนี้
๑. ดีบุก หนัก ๑ บาท
๒. สังกะสี หนัก ๒ บาท
๓. เหล็กละลายตัว หนัก ๓ บาท
๔. ปรอท หนัก ๔ บาท
๕. ทองแดง หนัก ๕ บาท
๖. เงิน หนัก ๖ บาท
๗. ทองคำ หนัก ๗ บาท
นวะโลหะได้แก่ผสมโลหะ ๙ อย่างดังต่อไปนี้
๑. ชิน หนัก ๑ บาท
๒. เจ้าน้ำเงิน หนัก ๒ บาท
๓. เหล็กละลายตัว หนัก ๓ บาท
๔. บริสุทธิ์ หนัก ๔ บาท
๕. ปรอท หนัก ๕ บาท
๖. สังกะสี หนัก ๖ บาท
๗. ทองแดง หนัก ๗ บาท
๘. เงิน หนัก ๘ บาท
๙. ทองคำ หนัก ๙ บาท
ตัวอย่างส่วนผสม เช่น ทองแดง 85 % + ดีบุก 10 % + ตะกั่ว 5 % จะเป็นสำริดที่มีสีสวยคือสีออกเหลืองส้มอ่อนๆ ถ้าทองแดงมากขึ้นเนื้อจะแดงขึ้น ถ้าเพิ่มดีบุกจะออกสีเงิน ถ้าตะกั่วมากจะทำให้สำริดมีน้ำหนักมากขึ้น ( ถ.พ.สูงขึ้น ) ... ถ้าผสมสังกะสีมากก็จะเป็นทองเหลือง สีจะเหลืองอ่อนมากขึ้น ( โลหะหรือแร่ทองเหลืองไม่มีในธรรมชาติ เป็นโลหะผสมเท่านั้น ).... /// ส่วนผสมโลหะที่ต่างชนิดกัน มีจุดหลอมเหลวต่างกันแต่มาหลอมละลายปนกัน
พระงั่งเนื้อสัมฤทธิ์ ที่เห็นปรากฏเป็นส่วนมาก็มี เนื้อสัมฤทธิ์ดำ เนื้อสัมฤทธิ์เขียว เนื้อสัมฤทธิ์แดง เนื้อสัมฤทธิ์ดังกล่าวนี้ ถ้ามีส่วนผสมของทองคำจะทำให้สัมฤทธิ์นั้นมันใสสวยงามยิ่งขึ้น
สัมฤทธิ์ดำ มีส่วนผสมของแร่เงินมาก
สัมฤทธิ์เขียว มีส่วนผสมของทองเหลืองมาก
สัมฤทธิ์ แดงน้ำตาลไหม้ มีส่วนผสมของแร่ทองแดงมาก
เนื้อพระผิวสนิมสีของพระเก่ามีสีอ่อนแก่ แตกต่างกัน และสนิมของพระก็แตกต่างกัน ทั้งนี้ก็เพราะว่าพระงั่งเก่าบางองค์ฝังอยู่ในดินฝันอยู่ในถ้ำ บางองค์เก็บรักษาไว้ในถ้ำ ในปราสาท วิหาร หรือเก็บไว้ในบ้าน พระเก่าที่ฝังอยู่ในดินในกรุผิวสนิมของพระจะหนา เหี่ยวย่นที่เก็บไว้ในบ้านเคหะสถาน ผิวสนิมจะบางสวยงามเนียนสนิท
พระงั่งสัมฤทธิ์เนื้อมันใส จัดเป็นเนื้อเก่าแท้ ความมันใสเกิดจากพระสร้างมานานเนื้อพระกินตัว กับอากาศถูกความร้อนเย็นนานเข้าเนื้อพระแห้งสนิท เกิดคราบสนิมมีความสึกร่อนตามธรรมชาติ ความแห้งไล่ความชื้นในเนื้อพระออกไปทำให้พระแห้ง เกิดความมันใส ความมันใสนี้ดูด้วยตาจะอยู่ในระหว่างความมันวาวและความกะด้าง
ในจุดนี้ของแท้ด้านซ้ายเรียกว่าเนื้อแตงไทย เนื้อจริงสีเหลืองอมเขียวขึ้นสนิมแดงและสนิมเขียวขึ้นสลับกัน ส่วนเนื้อสีดำล้วนมีระดับสีเดียวผิดหลักครับ
องค์ซ้ายเนื้อสุดขึ้นเกล็ดเป็นประกายทั้งองค์ สวยเนียนติดตาตรึงใจ องค์ขวาสีดำระดับสีเดียวทั้งองค์ผิดครับ เป็นเพียงตัวอย่างส่วนน้อยที่นำมาเปรียบเทียบกับของแท้ ในปัจุบันตั้งแต่ปีพ.ศ.2555 งั่งผลิตใหม่กับงั่งที่เรียนแบบของเก่า และมีรูปแบบใหม่ๆพิศดารออกมาวางตลาดเป็นจำนวนมากเหมือนของเล่นออกใหม่ยังไงยั้งงั้น (ในส่วนนี้ไม่พาดพิงพระงั่งสร้างใหม่ที่มีระบุการสร้างชัดเจนนะครับ) วันนี้นำภาพมาเปรียบเทียบกันแค่นี้ก่อน เราๆท่านๆสมัยนี้ล้วนมีการศึกษาแล้ว ฉนั้นการจะตัดสินใจรับข้อมูลต่างๆจากที่ไหน ก็ไม่ควรรับเพียงความเชื่อที่ไม่มีหลักเกณฑ์จริง หากบทความนี้ไปกระทบกระทั่งการพาณิชย์บางกลุ่มทางเราต้องกราบขออภัยไว้ใน ณ ที่นี้ด้วยนะครับผม
เพราะของเลียนแบบอาจถูกกว่าของจริงเพียงเล็กน้อย แต่พุทธคุณและ คุณค่าทางประวิติศาสตรนั้น ต่างกันราวฟ้ากับเหว เลยก็ว่าได้
องค์ซ้ายเป็นงั่งทรงเครื่องสมัยนครวัดศิลปะขอมหน้าอินเดีย มีความลึกและรายละเอียดปราณีตมากผิวเก่าผุบางจนเห็นดินตามจุดต่างๆขององค์ เนื้อสัมฤทธิ์มันปู เนื้อจะมีความลื่นคล้ายมีน้ำมันเคลือบแต่เนื้อกับแห้งสนิด เนื้อสีส้มคล้ายมันปู และเนื้อเมื่อโดนอากาศเนื้อจะกลับสีอมส้มเข็มเร็วมากกว่าสัมฤทธิ์เนื้ออื่นๆ
องค์ขวาถูกขึ้นแบบขึ้นมาใหม่ เป็นทองเหลืองทาขี้ผึงเบอร์29 รายอะเอียดค่อนข้างหยาบกระด้างต่างจากของจริงมาก
บางกลุ่มที่ชอบเข้ามาหาข้อมูลในนี้ไม่ได้มีเพียงผู้ที่รักพระงั่งอย่างเดียวเท่านั้นนะครับแต่ยังมีกลุ่มคนที่เข้ามาดูเพื่อนำไปพัฒนาของเรียนแบบเข้ามาดูและหน้าจะเข้ามาดูบ่อยกว่ากลุ่มที่อยากเข้ามาหาความรู้จริงๆในนี้ซะอีกครับ ผู้เขียนดูจากการแก้ทาง และ การพัฒนาของพระงั่งสร้างใหม่ที่หลุดทะลักเข้ามาขายกันมากมายในยุคนี้ เฉพาะพิมพ์เรียบแบบทำเก่านะครับไม่รวมพวกพิมพ์ที่ออกแบบมาใหม่แปลกพิศดารมากมายกลุ่มนี้ ผมยังว่าดีกว่ากลุ่มที่ตั้งใจเรียนแบบพิมพ์จริงอีกครับเพราะกลุ่มนี้ยังไม่ไปทำให้คุณค่าพระงั่งของจริงพิมพ์นั้นๆลดลง ..กลุ่มที่นำพิมพ์ของจริงไปก๊อปปี้พยายามให้เหมือนของจิงๆ จรึงทำให้เสียคุณค่าทางประวัติศาสตรไม่น้อย แต่ยังมีหลักอีกอย่างนึ่งครับถ้านอกเหนือจากรายอะเอียดทั้งหมด คือสิ่งที่จะบอกอายุพระ เฉพาะพระอายุประมาณ200ปีขึ้นไปนะครับสิ่งที่ของเรียนแบบยังไม่สามารถทำได้คือ เกล็ดคลายกำมะหยี่และเกล็ดกระดี่ เกล็ดประกายเงิน หรือเกล็ดประกายทองคำ ที่เกิดจากการกินตัวของอากาศผ่านความร้อนเย็นมาหลายร้อยปีเท่านั้นถึงเกิดขึ้นมาได้ครับ ไม่เหมือน ลอยขีดข่วน หรือลอยสนิมขุมที่เป็นหลุ่มๆนะครับ และก็ควรดูที่ภาพรวมในข้อมูลทั้งหมดด้านบนผสมไปด้วยเพื่อความแน่นอน
คนเราเกิดมาจะอยู่ในสังคมไหนหากินอะไรล้วนมีอุปสรรค์กันทุกคนครับไปสวนทางคนหมู่มาก ก็ต้องถูกรุมทึ้งเป็นธรรมดาโลกแต่ก็ยังเชื่ออยู่เสมอว่า คิดดี ทำดี มีคุณธรรม ทำอะไรก็เจริญครับ
# ของมูลแท้จริง ตามหลักประวัติศาสตร์และโลหะศาสตร์
อัพเดทพระงั่งปลอมปี 2560
พระงั่งปลอมเกรดA
สามองค์นี้เกือบได้นำมาออกบูชากันแล้ว ดีที่ตรวจสอบอย่างละเอียดก่อนทุกครั้งจึงได้ระงับการขาย 3องค์นี้หมื่นกว่าไม่ถูกเลยสำหรับของเก๊ แต่ไม่เป็นไรครับใช้เป็นครูได้ครับและจะได้นำลงเพื่อเป็นความรู้กับงั่งเก๊ปี พ.ศ. 2560 ดีกว่าหลับหูหลับตาขายให้กับคนที่เขาไม่รู้เรื่องให้เป็นบาปเป็นกรรมติดตัว
จะพยายามอธิายให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายมากที่สุดนะครับ พระงั่งกลุ่มนี้ดูจากในรูปอย่างเดียวจะไม่สามารถแยกออกได้เพราะทำพิมพ์ออกมาเหมือน เนื้อสีหมองน้ำตาลไหม้บวกสนิมถ้าดูจากรูปไม่ได้ตรวจส่องกล้องกับมือจะแยกแถบไม่ออก เพราะคนทำชุดนี้ออกมาดูเหมือนจะศึกษาจุดแข็งขององค์ประกอบการดูสัมฤทธิ์ที่มหาเวทย์63เคยนำมาเปิดเผย แต่พระงั่งปลอมชุดนี้ก็ยังพอแยกแยะได้อยู่ เพราะตอนนี้พอมีตัวอย่างพระงั่งปลอมชุดนี้อยู่จำนวน3องค์ แต่ที่พบในวงการณขณะนี้มี พิมพ์สะบัดหน้า , พิมพ์พระงั่งอาถรรพ์ , พิมพ์พระงั่งเกศดาบ , พิมพ์ปางจักรพรรดิทุกพิมพ์ , พระงั่งญาณต่ำฐานดิน , พระงั่งพิมพ์สะบัดหน้าบัวใหญ่ พระงั่งตะปูสังฆวานร องค์ล่าสุดเป็นองค์เศียรโล้นพิมพ์สร้อยสังวาลยุคต้น จุดนี้ให้เราตัดเรื่องการดูรายละเอียด ผิวสัมฤทธิ์ , เกล็ด , สีสนิม , พิมพ์พระ ออกไปก่อนเพราะไม่มีประโยชน์เนื่องจากดูจากรูปไม่ได้ให้เปลียนเป็นการจดจำเอกลักษณ์ของปลอมชุดนี้แทนจะง่ายกว่า
จุดสังเกต
1. การหล่อพิมพ์จากภายนอก ธรรมชาติของการหล่อโบราณรอยย่นและตำนิของผิวสัมฤทธิ์ในแต่ละองค์จะต้องต่างกัน โดยเฉพาะตำหนิหลังการหล่อจะไม่เหมือนกัน ยิ่งผ่านการสัมผัสมาหลายร้อยปี ต่างเจ้าของต่างสภาพแวดล้อม จะมีพื้นผิวที่ต่างกัน แต่พระงั่งชุดนี้จะมีตำหนิางจุดที่เหมือนกัน ตามรูป สภาพโดยรวมทั้งองค์ถ้าส่องดูจะเห็นลอยขนแมวลอยตกแต่งทั่วทั้งองค์หากผ่านการใช้ไปนานๆลอยแต่งอาจหายไปได้
2. พระงั่งชุดนี้มักจะใช้ตะไบสร้างเรียนแบบลอยผุกร่อนใต้ฐานเพราะทำง่ายสุดแต่มักจะไม่มีลอยผุกร่อนบนตัวองค์พระ
3. พระงั่งปลอมชุดนี้จะมีน้ำหนักมากผิดปกติโดยเฉพาะช่วงเศียรพระ พระเก่าจริงจะแห้งเบาเนื่องจากการเสียความชื่นภาย ในองค์พระมาหลายร้อยปี แต่พิมพ์เศียรโล้นล่าสุดที่ได้มารู้สึกว่าผู้สร้างกำลังพยายามลดน้ำหนักลง
4. ดินใต้ฐานไม่เก่าจริงคนเคยเห็นของแท้จนชินตาจะรู้ครับ พยายามใช้นิ้วกวาดให้ดูเนืยนเหมือนใช้งานมา บางองค์คนละพิมพ์แต่สีดินมวลสารเนื้อหาเหมือนกันเป๊ะ
จุดนี้ไม่ได้หมายความว่าไม่มีรอยที่ปากหรือแตกต่างจากในรูปจะแท้หมดนะครับเพราะสามารถทำบล็อกใหม่ขึ้นมาอีกเลือยๆต้องดูองค์ประกอปอื่นไปด้วยเช่น น้ำหนัก กับ ความเก่าของดินใต้ฐาน เป็นหลัก ถึงจะทราบครับ
ภาพฐานดินหลากหลายสี
ฐานดินต้องดูความเป็นธรรมชาติเป็นหลัก เป็นไปได้ถ้างั่งแท้จะอุดมวลสาร,อุดครั่ง หรืออื่นๆเพื่อปิดใต้ฐานอีกชั้น แต่ต้องมีองค์ประกอปอื่นสนับสนุนแทนเช่น เนื้อองค์พระ น้ำหนักเบา มีความเป็นธรรมชาติ การใช้งาน และอื่นๆจะต้องได้ครับ
ความจริงยังมีอีกหลายโรงหล่อที่ทำมาในลักษณะนี้ แต่ต่างกันตรงที่แต่ละที่จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว70กว่า%ที่ในบางกลุ่มยังคิดว่าแท้กันอยู่ บางกลุ่มอาจคิดว่าราคา3พัน-6พันบาทบางคนอาจดูไม่แพงเพราะเป็นความชอบส่วนตัวแต่ส่วนตัวไม่สนใจว่าแท้หรือไม่แท้ก็มี แต่ในมุมมองของผู้เขียน พระเรียนแบบกับพระเก่าแท้นั้นมีความแตกต่างกันอย่างมหาศาล ในเรื่องมวลสารที่ครูอาจารย์สมัยก่อนหามาด้วยความยากลำบาก และ ปลุกเสกด้วยบารมีจนเกิดพุทธคุณจริงมีความศักดิ์สิทธิ์มีประโยชน์ใช้สอยได้ แต่ของเลียนแบบเป็นเพียง ขยะโลหะจากร้านขายเศษเหล็กเก่า + ดินหินผสมปูนปลาสเตอร์ " แต่นำมาให้กราบไหว้บูชา " เงินเราเป็นของจริงนะครับ ถ้าจะบูชาแบบนั้นจริงๆผู้เขียนเห็นว่ากราบไหว้บูชา พ่อและแม่ของเราเองยังศักดิ์สิทธิ์กว่าเยอะครับ แล้วเงินแต่ละพันที่เสียไปกับไม่เกิดประโยชน์อะไร ถ้านำเงินมาให้พ่อแม่คนใกล้ตัวเราใช้ยังเกิดประโยชน์มากกว่าเยอะเลยครับ
>>>เขียนโดย ภัทร์ มหาเวทย์ วันที่ 26 กันยายน 2557
เพื่อการเผยแพร่ประกาศอนุรักษ์ และ ประกาศเกียรติคุณแก่พระงั่งโบราณผู้ใดนำไปใช้ โปรดอ้างอิงให้เครดิตเว็บไซรด้วย ขอบคุณครับ
__________________________ |
|
|