สมาชิกเข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิกใหม่ | ลืมรหัสผ่าน
กลับไปหน้าแรก
มหาเวทย์ 63 สาขา แรก
ขายพระงั่ง แม่เป๋อ
หน้ารวมสินค้า
คลิกเพื่ออ่านศูนย์รวมความรู้
คลิปVDOให้ความรู้
ห้องพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้
วิธีชำระเงิน
ติดต่อ-สั่งซื้อ
สมัครสมาชิก
สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 4
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 4
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 10,036,093
 เปิดเว็บ 26/03/2557
 ปรับปรุงเว็บ 09/09/2567
 สินค้าทั้งหมด 442
21 กันยายน 2567
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
10  11  12  13  14 
15  16  17  18  19  20  21 
22  23  24  25  26  27  28 
29  30           
             
รู้จักเว็บ มหาเวทย์63 จากที่ไหน
# google
# นิตยสาร
# มีคนแนะนำมา
# ได้รู้จักจากคำบอกเล่า
# พบเจอโดยบังเอิญ
วิชาไสยศาสตร์ กับ พระพุทธศาสนา
[26 มกราคม 2559 22:23 น.]จำนวนผู้เข้าชม 10457 คน
วิชาไสยศาสตร์ กับ พระพุทธศาสนา
ไสยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดศาสตร์หนึ่งสำหรับคนไทย มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์กฎหมายไทย
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชกาลพระเจ้าทรงธรรม ประมาณพ.ศ.๒๑๖๘ ให้จัดตั้งกระทรวงแพทยาคม เพื่อชำระคดี
ผู้กระทำผิดเกี่ยวกับคุณไสย เสน่ห์ยาแฝด ฝังรูปด้วยวิทยาคม กฎหมายบัญญัติลงโทษผู้กระทำผิดในการใช้คุณ
ไสยและวิทยาคมทำร้ายผู้อื่นทางอาญา กระทรวงนี้มีผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาคมเป็นตุลาการ มีหน้าที่สอบสวนพิจารณาโทษผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำทางไสยศาสตร์เรื่องคุณไสยโดยเฉพาะ

ในหนังสือวรรณกรรมต่าง ๆ มีการกล่าวถึงเรื่องทางไสยศาสตร์อยู่มากมาย แม้ว่าจะเป็นความเกินเลยของจินตนา
การมนุษย์ แต่ก็มีเค้ามูลที่มาจากความเป็นจริง ประเพณี และวิถีปฏิบัติของผู้คนในสมัยนั้น เสภาขุนช้างขุนแผนเป็น
วรรณกรรมที่มีเรื่องราวเหล่านี้มากที่สุดเรื่องหนึ่ง




ในสังคมไทย พระพุทธศาสนากับไสยศาสตร์เป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก ดังคำกล่าวที่ว่า “พุทธกับไสยย่อมอาศัยกัน”
ทั้งนี้เพราะก่อนที่คนไทยจะนับถือพระพุทธศาสนาก็นับถือผีมาก่อนแล้ว ซ้ำยังได้รับอิทธิพลของศาสนา พราหมณ์-ฮินดู เข้ามาทั้งก่อนและพร้อมกับพระพุทธศาสนา จึงทำให้ผสมผสานองค์ประกอบของความเชื่อทั้งสามไปด้วยกัน

ในทางนิรุกศาสตร์ คำว่า “ไสยะ” นี้แปลได้ ๒ อย่าง คือ แปลว่า นอนหลับอยู่ก็ได้ หรือจะแปลว่า ดีกว่า ก็ได้ ความหมายแรก ไสยะ แปลว่า นอนหลับ ตรงกันข้ามกับพุทธะ ซึ่งแปลว่า ตื่นจากหลับ  เป็นอันว่า ไสยศาสตร์ตรงกันข้ามกับพระพุทธศาสนา ประหนึ่งว่าการนอนหลับกับการตื่นอยู่ ความหมายที่ ๒ แปลว่า ดีกว่า หมายถึงดีกว่าอะไร ๆ ที่มีอยู่ก่อนไสยศาสตร์ เป็นที่พึ่งของมนุษย์ที่มีสัญชาตญาณกลัวภัย จำเป็นต้องหาอะไรสักอย่างหนึ่งเป็นที่พึ่ง เป็นที่ยึดเหนี่ยว

พระยาอนุมานราชธนให้ความหมายของไสยศาสตร์ไว้ในหนังสือชีวิตชาวไทยสมัยก่อนว่า “ลัทธิอันเนื่องด้วยเวทมนต์
คาถา ซึ่งถือว่าได้มาจากอินเดีย ถ้าเป็นตำราว่าด้วยเรื่องนี้ เรียกว่าไสยศาสตร์ ไสยและไสยศาสตร์ สองคำนี้ใช้เป็นสามัญแทนกันได้ หมายถึงความเชื่อและความรู้เนื่องด้วยสิ่งลึกลับอยู่เหนือธรรมชาติ ซึ่งไม่สามารถจะทราบและพิสูจน์ได้ ด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เช่น เรื่องผีสางเทวดา เรื่องความขลังความศักดิ์สิทธิ์ และรวมทั้งเรื่องโชคลางด้วย”

ในเรื่องไสยศาสตร์ คำว่า เวทมนต์คาถา เป็นคำที่มีความหมายสำคัญที่สุด ซึ่งเวทมนต์คาถานี้ได้รับการถ่ายทอดสืบๆ
กันมา โดยใช้เพื่อให้เกิดความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ โดยผู้ใช้ไม่รู้ความหมายของเวทมนต์คาถานั้น  ๆ แต่อย่างใด แต่อาจทราบเลา ๆว่า เป็นเมตตามหานิยม อยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด แค่เมื่อเอามาแปลในทางไวยากรณ์บาลีอาจไม่ถูกต้องตามหลัก เป็นแต่มีความเชื่อเป็นที่ตั้ง จึงก่อให้เกิดพลังศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวขึ้นมาได้

ในที่นี้เน้นกล่าวถึงความเชื่อในเรื่องความขลังความศักดิ์สิทธิ์อันได้จากเครื่องรางของขลังต่าง ๆ   (เครื่องราง คือของที่นับถือว่าป้องกันอันตราย ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า  เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เหล็กไหล เป็นต้น  ของขลัง คือของที่มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อกันว่าอาจบันดาลให้สำเร็จได้ดังประสงค์) ในสมัยโบราณ เครื่องรางของขลังเป็นที่นิยมกันมาก มีทั้งที่เกิดโดยธรรมชาติ เช่น ว่านยา เหล็กไหล หรือเพชรนิลจินดาที่รวมเรียกกันว่า นพรัตน์ เพื่อให้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น เจ้าของจะนำมาลงเลขยันต์ปลุกเสกด้วยคาถาอาคม โดยเฉพาะสิ่งที่ดูแล้วธรรมดา ๆ เช่น พวกเขี้ยวงา เขา ถ้าเป็นไม้ก็เป็นพวก
ไม้รักไม้ยม เอามาแกะเป็นตัวรักยม ไม้โพธิ์มาแกะเป็นพระพุทธรูป ไม้งิ้วดำมาแกะได้สารพัดอย่าง แม้กระทั่งมาแกะเป็นปลัดขิก หมอยาพื้นบ้านไทยและชาวจีนถือว่าไม้งิ้วดำเป็นยาอายุวัฒนะมักนำมาประกอบยาสมุนไพร ว่ากันว่าบางคนทำตะเกียบ ถ้าหยิบอาหารที่เป็นพิษ ตะเกียบจะเปลี่ยนสีทันที บางคนทำเป็นพัด ถ้ามีอากาศพิษ พัดที่ถืออยู่จะเปลี่ยนสี หมอยาบางคนใช้ไม้งิ้วดำตรวจรักษาโรค




บางครั้งใช้ผ้า เช่น ผ้าขาวหรือผ้าแดงมาลงอักขระเลขยันต์ ทำเป็นผ้ายันต์ เสื้อยันต์ ใช้สวมใส่ผูกคอ  พันศีรษะหรือผูก
แขน นำไปถักเป็นแหวนลงรักปิดทองสวมใส่นิ้วมือที่เรียกกันว่า แหวนพิรอด บางอย่างใช้ด้ายดิบทำ เช่น ด้ายมงคลสำหรับสวมศีรษะหรือด้ายสายสิญจน์ หรือทำด้วยโลหะเงินทองหรือนากก็มี นำมาตีแผ่ให้เป็นแผ่นบาง ๆ สี่เหลี่ยมแล้วลงอักขระเลขยันต์ ม้วนเข้าให้กลมเรียกว่าตะกรุด หรือทำเป็นรูปพับเป็นสี่เหลี่ยมทำหูห้อยร้อยเชือกเรียกว่าพิสมรซึ่งเชื่อกันว่ามีอานุภาพทางเมตตามหานิยม

ในอดีต การทำเครื่องรางของขลังเป็นเรื่องธรรมดา โดยเฉพาะผู้ชาย คนเหล่านี้ต้องการในกรณีพิเศษคือเมื่อออกรบทัพ
จับศึก เสภาขุนช้างขุนแผนกล่าวถึงทหารที่ออกรบในสมัยนั้นว่า

“สวมสอดเสื้อลงใส่มงคล                          ล้วนอยู่ยงคงทนซึ่งศัสตรา

บ้างอยู่ด้วยรากไม้ไพลว่าน
                    บ้างอยู่ด้วยโอมอ่านพระคาถา

บ้างอยู่ด้วยเลขยันต์น้ำมันทา                        บ้างอยู่ด้วยสุราอาพัดกิน

บ้างอยู่ด้วยเงี้ยวงาแก้วตาสัตว์                 บ้างอยู่ด้วยกำจัดทองแดงหิน

บ้างอยู่ด้วยเนื้อหนังฝังเพชรนิล                 ล้วนอยู่สิ้นทุกคนทนศัสตรา”





อาวุธที่ใช้ป้องกันตัวและออกรบคือมีดดาบก็ต้องเป็นของวิเศษ ใช้โลหะหลายอย่างที่เชื่อว่าไม่ได้มีอานุภาพตามธรรมชาติอย่างเดียว แต่มีความขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ในตัวด้วย จะได้ไม่เพียงแต่คม แต่สามารถฟาดฟันดั่งใจหมายได้ โลหะที่ดีต้องหายากและมาจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ดังกรณีที่กล่าวไว้ในเรื่องขุนช้างขุนแผนว่า
 
“เอาเหล็กยอดพระเจดีย์มหาธาตุ                    ยอดปราสาทวารามาประสม

เหล็กขนันผีพรายตายทั้งกลม              เหล็กตรึกโลงตรึกปั้นลมสลักเพชร

หอกสัมฤทธิ์กริชทองแดงพระแสงหัก           เหล็กปฏักสลักประตูตะปูเห็ด

พร้อมทั้งเหล็กเบญจพรรณกัลเม็ด             เหล็กบ้านพร้อมเสร็จทุกสิ่งแท้

เอาเหล็กไหลเหล็กหล่อบ่อพระแสง            เหล็กกำแพงน้ำพี้ทั้งเหล็กแร่

ทองคำสัมฤทธิ์นากอะแจ                      เงินที่แท้ชาติเหล็กทองแดงดง”


ดาบนี้นับเป็นของวิเศษขนาดที่ว่า เห็นต้นรังงามสามกำกึ่ง หวดผึงขาดพับลงกับที่ เบาไหลไม่ระคายคล้ายหยวกปลี” และถ้า
ดีจริงก็คงสู้กับคาถาอาคมของศัตรูได้ด้วย ศัตรูที่ขึ้นชื่อว่าคงกระพันก็ไม่อาจทนต่อดาบวิเศษเช่นนี้ได้

การตีดาบตีเหล็กและการทำเครื่องรางของขลังต่าง ๆ ต้องมีการดูฤกษ์ยาม เสร็จจากการตีการผสมแล้วก็ต้องมีพิธีพุทธาภิเษก
ทำนองใช้กระแสจิตดึงเอาพระพุทธคุณต่าง ๆ มาเข้าบรรจุไว้




พระยาอนุมานราชธนสรุปว่า “ชนชาติไทยนับถือศาสนาต่าง ๆ ซ้อนเป็นอย่างรูปเจดีย์อีกเหมือนกัน คือนับถือผีสางเทวดาเป็น
พื้นฐาน ถัดขึ้นไปนับถือไสยศาสตร์ ซึ่งมีอยู่ในศาสนาพราหมณ์และศาสนาฮินดู  แล้วจึงนับถือพระพุทธศาสนาเป็นดังชั้นยอด
ของเจดีย์ ความเชื่อทั้งสามคตินี้ นับถือเคล้าคละปะปนกันไป จะถืออย่างไหนมากหรือน้อยกว่ากันก็สุดแล้วแต่ชาติชั้นและการ
ศึกษาของคนในหมู่ ซึ่งมีไม่เท่าเทียมกัน ใครจะถือหนักไปทางไหน ถ้าไม่เป็นเครื่องเบียดเบียนหรือเดือดร้อนเสียหายแก่ตน
และคนอื่น ก็ถือไปไม่มีใครว่าอะไร”

เรื่องเดียวกันเป็นได้ทั้งพุทธศาสตร์หรือจะเป็นไสยศาสตร์ ถ้าเป็นการทำความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ เช่น พระเครื่อง ถ้าเข้าใจว่า
เป็นอนุสติระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ ก็เป็นพุทธศาสตร์ ถ้าเป็นเรื่องความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ อันเกิดด้วย
พลังศรัทธาของผู้บูชาก็เป็นเรื่องไสยศาสตร์

สรุปว่า ไสยศาสตร์ก็เป็นศาสตร์หนึ่งซึ่งมีความเชื่อเป็นฐานสามารถเป็นที่พึ่งของคนได้ในระดับหนึ่ง ถ้ายังหาที่พึ่งอื่นอีกไม่ได้
ถ้าสามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังความเชื่อก็จะเป็นการดี ทำให้เราเชื่อได้อย่างถาวรพร้อมทั้งมีปัญญาประกอบ  
ส่วนพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งถาวร ทำให้สิ้นทุกข์ สิ้นกิเลสไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

ไสยศาสตร์ ไทย เขมร.?? เผยความจริงสุดตะลึง!!
- หุ่นพยนต์,, ข้ารับใช้ผู้ซื่อสัตย์ [26 มกราคม 2559 22:23 น.]
- ฟังเรื่องเล่า {ไอ้งั่ง} จากเดอะช็อค ผี หลอน [26 มกราคม 2559 22:23 น.]
- ​ไสยศาสตร์อิสลาม รุนแรงไม่แพ้ ไสยศาสตร์ไดๆ [26 มกราคม 2559 22:23 น.]
- ”เดรัจฉานวิชา” [26 มกราคม 2559 22:23 น.]
- วิชาไสยศาสตร์ กับ พระพุทธศาสนา [26 มกราคม 2559 22:23 น.]
- บูชาพระเครื่องรางให้ได้ผล!! [26 มกราคม 2559 22:23 น.]
- ประวัติกุมารทอง วิธีเลี้ยงกุมารทอง คาถากุมารทอง [26 มกราคม 2559 22:23 น.]
- ต้นกำเนิด ไสยศาสตร์..!! [26 มกราคม 2559 22:23 น.]
ดูทั้งหมด

Copyright by mahawed63.net
Engine by MAKEWEBEASY